ตัวแทน                                                 1.

หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

มาตรา 797

1.สัญญาตัวแทน คือ สัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ตัวแทน

2.มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ตัวการ

3.และตกลงจะทำการดั่งนั้น

 

1.อันความเป็นตัวแทนนั้นจะเป็น

-โดยตั้งแต่งแสดงออกชัด

-โดยปริยายก็ย่อมได้

 

มาตรา 798

1.กิจการอันใดท่านบังคับโดยกฏหมายว่าต้องทำเป็นหนังสือ

2.การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้น ต้องทำเป็นหนังสือด้วย

 

1.กิจการอันใดท่านบังคับไว้ว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ

2.การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการนั้นก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย

 

มาตรา 800

1.ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ

2.ท่านว่า จะทำการแทนตัวการได้แต่เพียงในสิ่งที่จำเป็น

3.เพื่อให้กิจอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสำเร็จลุล่วงไป

 

มาตรา 801

1.ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไป

2.ท่านว่า จะทำกิจใดในทางจัดการแทนตัวการย่อมทำได้ทุกอย่าง

 

1.แต่การเช่นอย่างที่จะกล่าวต่อไปนี้  ท่านว่า อาจะทำไม่ได้คือ

            1)ขายหรือจำนองอสังหาริมทรัพย์

            2)ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์กว่า 3 ปี ขึ้นไป

            3)ให้

            4)ประนีประนอมยอมความ

            5)ยื่นฟ้องต่อศาล

            6)มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา

 

มาตรา 802   “เหตุฉุกเฉิน”

1.ในเหตุฉุกเฉินเพื่อจะป้องกันไม่ให้ตัวการต้องเสียหาย

2.ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ตัวแทนจะทำการใดๆ

   อย่างวิญญูชนจะพึงกระทำ

3.ก็ย่อมมีอำนาจจะทำได้ทั้งสิ้น

มาตรา 803

1.ตัวแทนไม่มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จ

2.เว้นแต่จะได้

  -มีข้อตกลงกันไว้ในสัญญาว่ามีบำเหน็จ

  -ทางการที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันนั้นเป็นปริยายว่ามีบำเหน็จ

  -เคยเป็นธรรมเนียมว่ามีบำเหน็จ

มาตรา 805

1.ตัวแทนนั้น เมื่อไม่ได้รับความยินยอมของตัวการ

2.จะเข้าทำนิติกรรมอันใดในนามของตัวการทำกับตนเอง

3.ในนามของตนเองหรือในฐานเป็นตัวแทนของบุคคลภายนอก

   ไม่ได้

4.เว้นแต่นิติกรรมนั้นมีเฉพาะแต่การชำระหนี้

 

มาตรา 806

1.ตัวการซึ่งไม่ได้เปิดเผยชื่อ

2.จะกลับ แสดงตนให้ปรากฏ + เข้ารับเอาสัญญาใดๆซึ่งตัวแทน

   ทำไว้แทนตนก็ได้

3.แต่ถ้าตัวการผู้ใดได้ยอมให้ตัวแทนของตนทำการออกหน้า

   เป็นตัวการ

4.ตัวการผู้นั้นไม่ทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของบุคคลภายนอก

5.อันเขามีต่อตัวแทน + เขาขวนขวายได้มาแต่ก่อนรู้ว่าเป็นตัวแทน

 

หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการ

มาตรา 807 

1.ตัวแทนต้องทำการตามคำสั่งแสดงออกชัดหรือโดยปริยาย

   ของตัวการ

2.เมื่อไม่มีคำสั่งเช่นนั้น  ก็ต้องดำเนินตามทางที่เคยทำกันมาใน

   กิจการค้าขายอันเขาให้ตนทำอยู่นั้น

 

มาตรา 808  “มอบอำนาจตัวแทนช่วงได้”

1.ตัวแทนต้องทำการด้วยตนเอง

2.เว้นแต่จะมีอำนาจใช้ตัวแทนช่วงทำการได้

 

มาตรา 809

1.เมื่อตัวการมีประสงค์จะทราบความเป็นไป

2.ของการได้มอบหมายแก่ตัวแทนนั้นในเวลาใดซึ่งสมควรแก่เหตุ

3.ตัวแทนก็ต้องแจ้งให้ตัวการทราบ

4.อนึ่งเมื่อการเป็นตัวแทนนั้นสิ้นสุดลงแล้ว

5.ตัวแทนต้องแถลงบัญชีด้วย

 

มาตรา 810

1.เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนได้รับไว้เกี่ยวกับ

   เป็นตัวแทนนั้น

2.ท่านว่าตัวแทนต้องส่งให้แก่ตัวการจงสิ้น

 

1.อนึ่ง  สิทธิทั้งหลายซึ่งตัวแทนขวนขวายได้มาในนามของตนเอง

2.แต่โดยฐานที่ทำการแทนตัวการนั้น

3.ตัวแทนก็ต้องโอนให้แก่ตัวการจงสิ้น

 

 

 

 

มาตรา 812

1.ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นอย่างใด ๆ 

2.เพราะ -ความประมาทเลินเล่อของตัวแทนก็ดี

          -เพราะทำการโดยปราศจากอำนาจ

            -เพราะทำการนอกเหนือจากอำนาจ

3.ท่านว่า ตัวแทนจะต้องรับผิด

 

มาตรา 813

1.ตัวแทนผู้ใดตั้งตัวแทนช่วงตามที่ตัวการระบุตัวให้ตั้ง

2.ท่านว่า ตัวแทนผู้นั้นจะต้องรับผิดแต่เพียง

3.ในกรณีที่ตนได้รู้ว่าตัวแทนช่วงนั้น

      -เป็นผู้ที่ไม่เหมาะแก่การ  หรือ

      -เป็นผู้ที่ไม่สมควรไว้วางใจแล้ว

   และ  ไม่ได้แจ้งความนั้นให้แก่ตัวการทราบ  หรือ

          ไม่ได้เลิกถอนตัวแทนช่วงนั้นเสียเอง

 

มาตรา 814

-ตัวแทนช่วงย่อมรับผิดโดยตรงต่อตัวการฉันใดกลับกันก็ฉันนั้น

 

หน้าที่และความรับผิดของตัวการต่อตัวแทน

 

มาตรา 818

1.การในหน้าที่ตัวแทนส่วนใด

2.ตัวแทนได้ทำไม่ชอบในส่วนนั้น

3.ท่านว่า ตัวแทนไม่มีสิทธิจะได้บำเหน็จ

 

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก

มาตรา 820

1.ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอก

2.ในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำไป

 

มาตรา 821

1.บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตน

2.รู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองแสดงเป็นตัวแทน

  ของตนก็ดี

3.ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริต

4.เสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน